วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

การดูแลรักษาชวนชม

โรคที่เกิดจากแมลง




เพี้ย

เพี้ยพวกนี้โดยธรรมชาติต้องมีตัวนำพา ส่วนใหญ่จะเป็นมดโดยเฉพาะมดดำ ถ้าเห็นมดดำ

บนกระถางปลูก ให้สังเกตไม้ไว้ มดจะเป็นตัวนำเพี้ยไปเลี้ยงบนยอดของต้นไม้ เพราะว่าส่วนยอดของไม้เป็นส่วนที่อ่อนนิ่มเพี้ยสามารถดูดน้ำเลี้ยงของพืชสบาย ต่อจากนั้นเพี้ยก็จะปล่อยของเหลวออกมาทางก้น ของเหลวนี้จะเป็นอาหารของมดอีกที่ จะเห็นว่าเป็นการพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน (น่าเลียนแบบ) คอยสังเกตมดไว้มดมีเพี้ยมา……

การป้องกันกำจัด1.ปราบมดโดยใช้ ซันเจี่ย ผสมน้ำตาลใส่น้ำนิดหน่อยกวนให้เข้ากัน ใส่พาชนะเล็กวางไว้หลายๆจุด มดจะหายไป2-3 เดือน
2.ใช้คาร์โบซันแฟน ผสมน้ำตามฉลากฉีดพ่นที่เพี้ย
..........................................................................................................


ไรแดง
การป้องกันกำจัด
1. สำรวจปริมาณไรแดงที่ใบและผลของชวนชม ทุก 14 วัน ถ้าพบมากกว่า 50% ของจำนวนที่สำรวจให้ทำการป้องกันกำจัด
2. สำรวจไรตัวห้ำที่ใบแก่ในทรงพุ่ม ตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวทุก 14 วัน ตรวจบริเวณใต้ใบใกล้เส้นกลางใบ 5 ใบ/ต้น ถ้าพบเกิน 25% ไม่ต้องทำการป้องกันกำจัด
3. ฉีดพ่นน้ำติดต่อกันหลาย ๆ ครั้งที่ใบเพื่อลดปริมาณไรแดง
4. ตัดใบทิ้ง การตัดอย่าให้ใบร่วงลงพื้น ให้ตัดแล้วเอาใบใส่ถุงไปทิ้งที่อื่น หรือ เผาทำลายสารเคมี เมื่อสำรวจใบและผล ที่มีไรแดงทำลายเกิน 50% ของผลทั้งหมดที่ สำรวจ ให้พ่นสารกำจัดไร เช่น propargite (Omite 30 % WP.) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ hexythiazox (Nissorun 2 % EC.) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร

...........................................................

การเสียบยอดชวนชม,วิธีตอนกิ่งชวนชม และการเลือกซื้อชวนชม

การเสียบยอดชวนชม
เตรียมต้นตอชวนชมที่ได้จากการเพาะเมล็ด ต้นตอชวนชมที่นำมาเสียบจะมีอายุตั้งแต่ 6 เดือน ขึ้นไปจน 1 ปี ถ้าขนาดของต้นตอ ใหญ่กว่ายอดที่จะนำมาเสียบ ควรเสียบยอดไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเสียบ 2 ยอด เลยก็ได้ กรณีที่เสียบ 2 ยอด บางสวนจะเสียบ 2 ยอด ต่างสีกัน แต่ควรจะศึกษานิสัยการโตของชวนชมทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่นำมาเสียบ ควรจะคล้ายคลึงกัน นำต้นตอชวนชมที่จะใช้เป็นตอเสียบ ตัดยอดออกโดยไม่ต้องงดการรดน้ำ แต่ต้นตอควรจะงดการใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ต่ำกว่า 20 วัน ถ้าเป็นปุ๋ยละลายช้าไม่เป็นอะไร ผ่าต้นตอเป็นปากฉลามให้ลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร ยอดที่ใช้เสียบจะเป็นยอดหรือเป็นท่อนกลางก็ได้ ปาดเป็นรูปลิ่มเสียบ แล้วเอาผ้าเทปพลาสติคพันแผลให้แน่น คลุมด้วยถุงพลาสติค วางไว้ในที่มีแสง 50 เปอร์เซ็นต์ จะดีกว่า ประมาณ 10 วัน จึงแกะถุงพลาสติคออก ถ้าจะแก้เชือกออกอย่างเดียว แต่ถุงยังคลุมอยู่ ทิ้งไว้อีก 2 วัน ก็จะดีกว่า เพราะยอดชวนชมที่เสียบใหม่อยู่ในถุงพลาสติคหลายวัน จะได้ชินกับอากาศภายออก ก่อนจะเปิดถุงพลาสติก
.....................................................................................................................................................................
วิธีตอนกิ่งชวนชม
กิ่งชวนชมที่จะนำมาตอน คล้ายกับการปักชำ คือไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ความยาว 20-30 เซนติเมตร ใช้มีดปาดให้เป็นปากฉลาม โดยปาดจากด้านล่างขึ้นด้านบน แผลจะยาว 2-3 เซนติเมตร ใช้หลอดกาแฟ หรือไม่ชิ้มฟันก็ได้ครับ สอดเข้าไปที่รอยแผล เพื่อป้องกันมิให้กิ่งติดกันดังเดิม ทิ้งไว้ 5-7 วัน แผลจะแห้ง พร้อมแล้วก็หุ้มด้วยขุยมะพร้าว ที่ใส่ถุงขนาดเท่าถุงน้ำจิ้มที่เตรียมไว้ มัดด้วยเชือกพลาสติคหัวท้ายให้แน่น ระวังอย่าให้ขุยมะพร้าวในถุงเปียกมากเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเน่าได้ ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน จะมีรากออกมา พอรากเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจึงตัดไปปลูกได้
.....................................................................................................................................................................
การเลือกซื้อ
1. ขั้นแรกควรจะทำการศึกษารูปทรงต่างของบอนไซ ที่มีในประเภทต่างๆ เช่นทรงต้น โคนคู่ กลุ่มกอ เอนชาย ตกกระถาง ลู่ลม ไม้ซาก ให้เข้าใจถึงจังหวะและทรงของต้นไม้ว่าควรจะมีกิ่งตำแหน่งใดบ้าง
2. เลือกชวนชมที่จะมาทำบอนไซ มีวิธีเลือกอย่างไร หัวข้อนี้ก็นับว่าน่าสนุกและท้าทาย ถ้าเลือกได้สวยเราก็จะพอใจและดูพัฒนาการมันอย่างใจจดใจจ่อ เราดูจากฐานรากเป็นอันดับแรก
3. เลือกลำต้น ที่กลมโคนต้นใหญ่แล้วมีการทดเล็กลงจากการแตกกิ่ง ลำต้นไม่ยุบเข้าด้านใดด้านหนึ่ง มีตำแหน่งกิ่งหนึ่งให้มาบ้างแล้ว โดยปกติแล้วการเลือกทรงต้นเนี่ยต้องใช้ประสบการณ์ในการมองมากพอสมควรเลยครับถ้าลำต้นให้ตำแหน่งทดมากมากๆ
4. ตำแหน่งกิ่งต้องได้ตำแหน่งกิ่งที่เหมาะสม ต้องรู้ว่ารากฐานขนาดนี้ รูปทรงเป็นทรงไหน (ทรงสูง ทรงเตี้ย) และรู้ควรจะมีกิ่งหนึ่งที่ตรงไหน กิ่งไม่บังกันเองไม่บังต้น ทิศทากการแผ่กิ่งต้องแผ่จากกลางลำต้น
......................................................................................................................................................................

การผสมเกสร,การจัดฟอร์มราก และการตัดแต่งกิ่งชวนชม

การผสมเกสร
การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการผสมเกสร.ที่ได้จะมีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูงในด้านรูปทรง ใบ ดอก และสี ที่แตกต่างจากต้นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เป็นการสร้างลูกผสมใหม่ออกมาเพื่อคัดเลือกต้นตามต้นพ่อต้นแม่ที่มาผสม
ขั้นตอนการผสม
เลือกดอกที่สมบรูณ์ที่สุดแล้วฉีกกลีบดอกพ่อพันธุ์ออก จะสดวกและง่ายในการลงมือ สำหรับดอกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรบานแล้ว 2-3วัน เลือกดอกที่เราต้องการจะให้เป็นจะทำให้ได้ลูกผสมที่ต่างจากพ่อแม่ออกไปดึงระยางค์เกสรตัวผู้ออกครับ จะได้มองเห็นอับเกสรตัวเมียสีเขียวอยู่ตรงกลางดอก
บีบโคนดอกเบาๆก็จะทำให้โดมเกสรตัวผู้แยกออกได้เหมือนกันหาพู่กันเล็กๆมาเขี่ยเอาละอองเกสรตัวผู้ ก่อนจะเอาไปป้ายที่ดอกแม่พันธุ์ที่ดอกแม่พันธุ์ ฉีกกลีบดอกออกมานิดนึงให้ทำงานง่ายๆ
ดึงระยางค์เกสรตัวผู้ออกมาบีบโคนดอกเบาๆ เพื่อให้โดมเกสรตัวผู้เปิดออกเอาพู่กันที่มีละอองเกสรตัวผู้ มาป้ายที่เกสรตัวเมียเลยป้ายเกสรตัวผู้ไปตรงกลางให้โดนเกสรตัวผู้เปิดออกจะทำได้ง่าย ถ้าผสมเกสรติดแล้ว ดอกจะร่วงไป เหลือกลีบเลี้ยงและรังไข่ที่จะเจริญต่อไป เป็นเมล็ดเอาไว้ แต่ถ้าผสมไม่ติด ดอกจะร่วงทั้งกลีบเลี้ยงนะครับแล้วจะค่อยๆเจริญเป็น 2 แฉก ฝัก 2 แฉกของชวนชม รอจนฝักแก่และแตกออก จะมีเมล็ดที่มีขนปุยให้เอามาเพาะได้เลยครับ
...........................................................................................................................................................
แนะนำการจัดราก

แนวบอนไซ สำหรับผู้มีความรู้ในแนวบอนไซถือว่าง่าย แต่สำหรับผู้ไม่รู้ก็ลองทำดูครับ
1.เตรียมกระถาง รองโฟมหัก1/3ของกระถาง ประหยัดดิน+เบาดี
2.รองด้วยวัสดุผิวราบกันรากวิ่งลงด้านล่างบังคับให้รากออกด้านข้างโดยรอบต้น
3.โรยวัสดุปลูกทับโฟม เน้นวัสดุโปร่งเบาเพื่อล่อรากฝอย
4.นำต้นไม้ลงปลูกพร้อมจัดรากโดยรอบๆ ใช้ไม้บังคับกิ่งให้กระจายโดยรอบ หรือจะใช้โฟมช่วยจัดก็จะดียิ่งขึ้น
5.สุดท้ายโรยวัสดุปลูกอีกครั้งโดยรอบ ใช้ไม้ค่อยๆแย่ดินให้เข้าทุกซอกทุกมุมของราก เพื่ออะไรก็คงรู้... งดน้ำหลายวันหน่อยเพราะถ้ารากช้ำบ้างจะได้ไม่มีผลต่อต้น...
ลองทำดูนะครับ ผมรับรองว่าไม้ที่จัดรากช่วยจะมี จะทำให้ดูดีมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น...และวิธีนี้ ใช้ได้กับไม้ทุกชนิด (แคสตัสยังไม่ได้ลองแฮะ....) และพยายามให้ปุ๋ยแต่ตัวกลาง+หลัง ช่วยบำรุงราก



..................................................................................................................................................................................................
การตัดแต่งกิ่ง

ธรรมชาติของชวนชมจะมีลักษณะทรงต้นและการบิดตัวที่สวยงามอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีการตัดแต่งบังคับรูปทรงให้เป็นไปตามต้องการ โดยเฉพาะชวนชมที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปหรือต้นที่โตแล้ว มีกิ่งก้านสาขาเก้งก้างไม่เป็นพุ่มสวยงาม การตัดกิ่งควรตัดกิ่งก้านที่แตกออกมาเกะกะไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่พาดทับกันไปมา กิ่งที่ตาย กิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่คดไปมา และกิ่งที่เป็นโรคออกบ้าง เพื่อช่วยเปิดให้แสงและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ลักษณะทรงพุ่มเป็นระเบียบสวยงาม สำหรับพันธุ์ที่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน สูงชะลูด ลำต้นอาจหักเมื่อโดนลมแรง อาจตัดยอดไปขยายพันธุ์ เพื่อให้ส่วนโคนที่เหลือแตกกิ่งออกมาใหม่ การตัดควรใช้มีดที่คมและสะอาดตัดให้ชิดลำต้น ไม่ควรเหลือตอกิ่งไว้ ถ้ารอยตัดมีขนาดโตกว่า 1 ซม. ควรใช้ปูนแดงทาที่รอยตัดเพื่อป้องกันเชื้อรา


..................................................................................................................................................................................................................................

วิธีการพาะพันธ์ชวนชม



1.เก็บเมล็ดพันธ์จากต้นที่ฝักปริเองโดยธรรมชาติ แก่ได้ที่แล้ว ผึงลมให้แห้ง 2 วัน
นำมาแช่ในน้ำยาb1 + น้ำ หรือน้ำอย่างเดียวก็ได้ เพื่อให้เมล็ดงอกได้ง่ายๆและเร็ว




2.เตรียมผสมวัสดุปลูกใส่กะบะเพาะที่เตรียมไว้
- แกลบเผา 1 ส่วน
- ทรายหยาบ 1 ส่วน
- ขุ๋ยมะพร้าว 1 ส่วน
- ผสมให้เข้ากัน







3.ใช้บรรทัดเหล็กฯลฯ ทำร่องให้กว้างเท่าๆกัน ควรนับเมล็ดก่อนก็ได้ได้กะจำนวนร่องถูก
แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1 นิ้วนะครับเวลาโตจะได้ไม่เบียดกัน


4. นำเมล็ดมาเรียงในร่อง ทิ้งเมล็ดไว้ให้แห้งก่อนก็ได้นะครับ เวลาเรียงจะได้ง่ายๆหน่อย


5. เรียงให้เป็นระเบียบนะครับ เวลาต้นงอกและโตในกะบะจะได้ไม่เบียดกัน

6.สุดท้ายก็กลบด้วยวัสดุเดิม ในรูปผสมไว้พอดี ก็เลยนำขุ๋ยมะพร้าวมาโรยบางๆ รดน้ำด้วยบัวรดน้ำเบาพอชุ่มเบาพอชุ่ม นำเข้าร่มและไม่ต้องรดน้ำอีกจนเมล็ดเริ่มงอก ควรผสมยากันเชื้อราแบบชีวภาพ จะช่วยไม่ให้เมล็ดติโรคเน่า

สายพันธุ์ชวนชม


บางคล้า เป็นชวนชมสายพันธุ์ Thai Socotranum ที่เกิดจากกิ่งแม่เสียบตอไทยที่ชื่อว่า “ดำริสิทธิ์โชคหมายเลข ๑” ซึ่งให้ลูกออกมามีลักษณะทรงต้นคล้ายคลึงกับ เพชรพระนครมาก แต่ลักษณะลำต้นและรากจะแตกต่างกันเล็กน้อย สามารถจัดแต่งทรงให้เป็นบอนไซได้อย่างสวยงาม

ลักษณะเด่น - ลำต้น บางคล้าจากสวนที่ผลิตชวนชมบางคล้าโดยตรงลำต้นจะมีสีดำเกาะบางเล็กน้อย ลักษณะโดยรวมคล้ายบอนไซ มีรากที่จัดให้เป็นบอนไซได้ มีทั้งทรงสูงและเตี้ย
- กิ่ง กิ่งของบางคล้าจะค่อนข้างหนา กิ่งแตกออกขนานกับพื้น ข้อถี่ไม่ค่อยยืดมากนัก
- ใบ ใบของบางคล้าจะค่อนข้างหนา กระดูกใบชัดเจน ใบเรียวค่อนข้างแหลม ขั้วใบจะหลุดยากเวลาพลัดใบ
- ดอก ดอกสีชมพู มี 5 กลีบ สีค่อนข้างหวาน
....................................................................................................................................................................





เพชรบ้านนา เป็นชวนชมสายพันธุ์ THAI SOCOTRANUM ชนิดหนึ่งโดยแต่เดิมถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศโดย คุณลุงบุญเสริม เกียรติกุล ซึ่งต่อมา คุณอนุชา เกียรติกุล ได้เป็นผู้ดูแล และนำมาขยายพันธุ์ จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในปัจจุบันลักษณะคร่าว ๆ ของเพชรบ้านนา อาจดูได้ดังนี้
1.ใบ ลักณะใบยาวแหลมมันวาวสีเทาอมตะกั่วหนา พื้นใบไม่เรียบ เส้นกระดูกใบชัด
2.ดอก สีชมพูอ่อนอมขาวเล็กน้อย เกสรจะโผล่ออกจากกรวยดอก กรวยดอกอาจมีสีเหลืองนวลอ่อนหรือสีขาวนวล ดอกขนาดเล็ก ช่อดอกแน่น
3.ฝัก เมื่อติดแล้วประมาณ 1 เดือน ฝักจะกางออกไม่ประกบชิดกัน มีสีเขียวและสีเขียวอมแดงบริเวณรอยปริของฝัก
4.ลำต้นมีสีขาว หรือสีเขียวอมขาว อาจมีสีดำป็นส่วนน้อย ลำต้นไม่ตั้งตรง จะเอียงเมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากธรรมชาติในทะเลทราย ต้นจะเอียงเพื่อลดทอนความแรงของลมฝน
5.ราก รากใหญ่ลอยตัวพ้นดินสวยงาม รายละเอียดรากฝอยน้อย
6.กิ่ง กิ่งถี่และยาวช้า โคนกิ่งมีลักษระย่นเหมือนหนังช้างจะสังเกตเห็นเกร็ดของขั้วใบได้ชัดเจน เมื่อโตขึ้นกิ่งจะสมดุลกันเองโดยธรรมชาติ
..............................................................................................................................

มงกุฎเพชร เป็นสายพันธุ์หนึ่งใน ไทยโซโคทรานั่มเช่นเดียวกัน เป็นไม้ที่ถูกนำมาพัฒนาจากสายพันธุ์บางคล้า ที่สวน NSD นำมาเปิดตัวเพื่อการตลาด ซื่งนับว่าเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาคนรักชวนชม
ลักษณะคร่าว ๆ ของมงกุฎเพชร
1.ใบยาวเรียบห่อโค้งสวยงาม สีเขียว และสีเขียวอมเทา แข็งหนาและมันวาวคล้ายบางคล้าและเขาหินซ้อน
2.กิ่งข้อถี่ ใหญ่ กิ่งฝอยมากมักขนานกับพื้นดินตั้งแต่อายุยังน้อย
3.ดอก ดอกสีชมพู หรือแดง หลอดดอกสีเหลือง หรือขาวนวล มีเส้นหลอดดอกชัดเจน
4.ลำต้น ลำต้นตั้งตรง รากลอยตัวพ้นดินสวยงาม มีรากฝอยมาก เมื่ออายุมากขึ้น รากจะใหญ่ขึ้น ทำให้คอไม้สั้น
........................................................................................................................................................


ราชินีพันดอก ถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ จัดเป็นยักษ์อาหรับ <Arabicum> ชนิดหนึ่ง มีการนำเข้าราชินีพันดอกจากประเทศแถบอาหรับ โดยการนำกิ่งจากต้นแม่ มาปักชำและเพาะเลี้ยงในประเทศไทย
ลักษณะใบ ใบเล็ก เป็นมัน ถ้าเลือดเด่นขอบใบจะออกแดงเล็กน้อย
ลักษณะดอก ดอกเล็ก สีชมพู ขาวนิดหน่อย ดอกดก มักออกดอกพร้อมกัน
ลักษณะลำต้นและผิว ถ้าเป็นกิ่งตอน ผิวจะออกลายนวล ถ้าเป็นไม้เมล็ดเริ่มแรกจะเขียว พออยู่นานกด็จะนวลเอง
ลักษณะฝัก ฝักเล็ก มีเมล็ดประมาณ 80 - 100 เมล็ด
ลักษณะเด่น ดอกดก ให้ฝักเร็ว ถ้าออกดอกแล้วยอดจะแตกเพิ่ม สวยงามมาก
ลักษณะด้อย เพาะเมล็ดยาก เมล็ดมีขนาดเล็ก
...................................................................................................................................................................




เพชรพระนคร เป็นไม้อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของ ไทยโซโคทรานั่ม ปัจจุบันถูกนำมาตีตลาด โดย คุณกรองทิพย์ แดงบุดดา หรือคุณทิพย์ เจ้าของสวน KT adinium ในขณะนี้ เพชรพระนคร เป็นลูกหลานของสายพันธุ์บางคล้า ที่มีลักษณะแตกต่างจากบางคล้าทั่ว ๆ ไป อาจสังเกตได้ดังนี้
1. ใบมีลักษณะเรียวยาว ห่อเล็กน้อย มันวาว มัน และหนา
2. กิ่ง ลักษณะของกิ่งจะคล้ายกับบางคล้ามาก แต่จะมีการแตกกิ่งที่โดดเด่นกว่า มีกิ่งสมดุล กิ่งมักขนานกับพื้นตั้งแต่เล็ก ๆ
3 . ลำต้น มีสีขาว และสีเขียวอมขาว คล้ายบางคล้า
4. รากมีจุดแตกต่างกับบางคล้า คือ เพชรพระนครมักจะมีรากฝอยที่มากกว่า รากอ่อน ซึ่งสามารถจัดรากได้ง่าย
5. ดอกมีสีขมพูเข้มจนถึงสีแดง คล้ายบางคล้า ติดฝักค่อนข้างยาก


......................................................................................................................................................................



เพชรกรุงเก่า เป็นชวนชมที่เกิดมาจาก เพชรบ้านนา ครับ โดยที่ต้นแม่เค้าเป็นเพชรบ้านนาแท้ๆ ที่เกิดจากต้นแม่ แต่เค้าแปลกไปจากพี่น้องมากๆตรงที่เค้าไม่โต กิ่งก้านเล็ก ข้อถี่ ย่นๆ กิ่งแตกทุกทิศทางเป็นพุ่ม และที่สำคัญคือขายพันธุ์ได้โดยการตอนหรือเสียบกิ่งเท่านั้น ต้นแม่ไม่เคยติดฝัก และคาดว่าแม้จะมีลูกออกมาฟอร์มเค้าก็ต้องออกเป็น เพชรบ้านนา แน่ๆ
.....................................................................................................................................................................




ระฆังทอง(รฆท) จัดอยู่ในตระกูลไทยโซโค ซึ่งมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวรากและโขดจะใหญ่มาก ทรงระฆังคว่ำคือเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์ กิ่งแตกออกรอบต้นแต่จะไม่นอนเท่ามงกุฎทอง สีดอกชมพูเข้มกว่า บางต้นเข้มมากจนเกือบแดง ใบใหญ่และกลมกว่ามงกุฎทอง ดูทรงต้นโดยรวมจะมีความแข็งแกร่งและภูมิฐาน

.....................................................................................................................................................................



ประวัติและความเป็นมาของชวนชม



ภูมิหลังและความเป็นมาของชวนชม

ชวนชมเป็นพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงามสะดุดตามีรูปทรงของต้นและกิ่งก้านที่สวยงามและอ่อนช้อยนุ่มนวลเป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งจนได้รับสมญาว่า Derert Rose หรือ "กุหลาบทะเลทราย" นอกจากนี้ชวนชมยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคลตามความเชื่อของคนไทยแม้แต่ชาวจีนซึ่งเรียกชวนชมว่า"ปู้กุ้ยฮวย" หรือดอกไม้แห่งความร่ำรวยก็ยังมีความหมายไปในทางศิริมงคลเช่นกัน ชวนชมมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อP. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่าราวปี พ.ศ. 2305 แต่กลุ่มนักพฤกษศาสตร์ในสมัยนั้นเชื่อว่าไม้ดอกที่พบเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่และในราวปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรียได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับว่าชวนชมคือดอกไม้ชนิดใหม่

สำหรับในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีผู้นำชวนชมเข้ามาปลูกเลี้ยงตั้งแต่เมื่อใด แต่จากหลักฐานพอสันนิษฐานได้ว่า มีการนำชวนชมเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 70 ปีแล้วโดยผ่านทางราชสำนักหลังการเสด็จประพาสต่างประเทศเพราะมีการพบเห็นชวนชมปลูกอยู่ในเขตพระราชวังและวังเจ้านายทั่วไป

จากการสืบค้นของอาจารย์ วิชัย อภัยสุวรรณ (ผู้เขียนหนังสือไม้ดอกและประวัติไม้ดอกเมืองไทย) ทราบว่าอย่างน้อยที่สุดคนไทยรู้จักเล่นชวนชมมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 6โดยพระนางเธอลักษมีลาวัณพระมเหสีองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ได้ทรงนำพันธุ์ชวนชมเข้าไปปลูกในพระตำหนักลักษมีวิลาศแต่ไม่มีผู้ใดทราบว่าทรงนำต้นชวนชมมาจากแหล่งใดแต่ที่ปรากฏแน่ชัดคือ พระองค์ประทานชื่อดอกไม้นี้ว่า
"ชวนชม "

......................................................................................................................................................................